ประชากรมนุษย์

ประชากรมนุษย์  

                  ในในทุกวันนี้คงเคยได้ยินหรือได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสถานภาพของประชากรมนุษย์กันมาบ้าง   บ้างก็ว่าในบางประเทศมีอัตราการเติบโตของประชากรลดลง   หรือบางประเทศก็กำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับจำนวนประชากรในประเทศสืบเนื่องมาจากมีอัตราการเกิดและอัตราการตายต่ำ   นอกจากนี้ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่าง ๆ ก็มักจะมีการหยิบยกปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ส่งผลกระทบต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม   ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับทราบมานี้  คิดว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ของโลกที่แท้จริงควรเป็นอย่างไร   
 22.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์              อันที่จริงแล้วประชากรมนุษย์มีแบบแผนการเติบโตเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ถ้าหากลองพิจารณาดูกราฟการเติบโตของประชากรตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาหลายพันปีจนกระทั่งปัจจุบัน   จะเห็นว่าในระยะแรกการเติบโตของประชากรค่อนข้างต่ำ  และคงที่นับพันๆ ปี จากนั้นประชากรก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังภาพที่ 22-13
ภาพที่ 22-13 การเติบโตของประชากรมนุษย์
 - จากภาพที่ 22-13 ถ้าการเพิ่มประชากรมนุษย์เป็นแบบรูปตัวเจ   นักเรียนคิดว่าการเพิ่มประชากรในลักษณะนี้จะมีที่สิ้นสุดหรือไม่ อย่างไร- นักเรียนคิดว่ามีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมอะไรบ้างที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนประชากรมนุษย์           ดังที่ทราบแล้วว่าประชากรมนุษย์ในโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะการเพิ่มประชากรมนุษย์มีแบบแผนการเพิ่มเป็นแบบเอ็กโพเนนเชียล   โดยมีกราฟการเพิ่มของประชากรเป็นรูปตัวเจดังข้อมูลจำนวนประชากรมนุษย์ของโลก จากตารางที่ 22.1
 ตารางที่ 22.1 เปรียบเทียบจำนวนประชากรมนุษย์ของโลกปี พ.ศ. 2193-2540
ปี พ.ศ.
จำนวนประชากรมนุษย์ของโลก (ล้านคน)
2193
2293
2343
2393
2443
2493
2513
2528
2531
2536
2540
510
710
910
1,130
1,600
2,510
3,575
4,842
5,128
5,506
5,840
  ที่มา : Lane , 2529 และสถาบันประชากรศาสตร์ , 2531  

เชื่อมโยง คณิตศาสตร์
   ใช้ข้อมูลในตารางที่ 22.1 หาอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ในแต่ละช่วง 50 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2193-2540 แล้วนำค่าที่ได้มาเขียนกราฟเพื่อดูแนวโน้มของอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร

- จากตารางในปี พ.ศ. 2493-2513 จำนวนประชากรมนุษย์ของโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก   จะทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบด้านใดต่อมนุษย์- จากข้อมูลในตารางที่ 22.1 จะเห็นว่าจำนวนประชากรมนุษย์ของโลกมีอัตราการเพิ่มขึ้นในระยะแรกค่อนข้างช้าและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีพ.ศ. 2493 จากนั้นอัตราเพิ่มขึ้นลดลงอย่างรวดเร็วในปีพ.ศ. 2528 เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
 ปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรของมนุษย์   
           ดังที่นักเรียนได้ทราบว่าในการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรสิ่งมีชีวิตขึ้นอยู่กับอัตราการเกิด อัตราการตาย และอัตราการอพยพ   ในประชากรมนุษย์ก็เช่นเดียวกันพบว่าใน การศึกษาเรื่องประชากรมนุษย์ (demography) นักประชากรศาสตร์จะใช้อัตราการเกิด หรือ อัตราการเกิดเชิงประเมิน(crude  birth  rate) และอัตราการตาย หรือ อัตราการตายเชิงประเมิน (crude  death  rate) ในการนำเสนอข้อมูลในภาพรวมอย่างคร่าวๆ ดังภาพที่ 22-14
                       ภาพที่ 22-14 อัตราการเกิดเชิงประเมินและอัตราการตายเชิงประเมินของประชากรมนุษย์ในทวีปต่างๆ ในปี พ.ศ. 2540                                             (ที่มา ข้อมูลจาก  Miller, 2542)

รู้หรือเปล่า ?
         อัตราการเกิดเชิงประเมิน หมายถึง จำนวนสิ่งมีชีวิตที่เกิดต่อจำนวนสิ่งมีชีวิต 1,000 หน่วยในประชากรนั้นในรอบปี เขียนแทนสูตรได้เป็น
          อัตราการตายเชิงประเมิน หมายถึง จำนวนสิ่งมีชีวิตที่ตายต่อจำนวนสิ่งมีชีวิต 1,000 หน่วยในประชากรนั้นในรอบปี เขียนแทนสูตรได้เป็น
  

- จากภาพที่ 22-14 ประชากรในพื้นที่ใดที่มีแนวโน้มของอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้น   และในพื้นที่ใดที่มีแนวโน้มของอัตราการเพิ่มของประชากรลดลง   เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น- ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่ออัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรมนุษย์- เพราะเหตุใดอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรในยุโรปจึงใกล้เคียงกันมาก- การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร   นอกจากนี้อยู่กับอัตราการเกิดและการตายแล้วยังขึ้นอยู่กับปัจจัยใดอีกบ้าง
 กิจกรรมที่ 22.2 ศึกษาข้อมูลประชากรในประเทศไทย   1.   พิจารณาตารางแสดงจำนวนประชากรคนไทยในปี พ.ศ. 2462-2544 แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟ
                                                           ตารางจำนวนประชากรไทยในปี พ.ศ. 2462-2544
ปี พ.ศ.     
จำนวนประชากรคนไทย (ล้านคน)
2462
2472
2480
2490
2503
2513
2523
2533
2534
2535
2536
2537
2538
2539
2540
2541
2542
2543
2544
9.12
10.51
14.46
17.44
26.26
34.15
44.28
56.30
56.96
57.79
58.34
59.09
59.46
60.00
60.81
61.46
61.66
61.87
62.30
              ที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติและสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.   ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนประชากรคนไทยในประเด็น ต่อไปนี้           21. การเพิ่มของประชากรจากอดีตถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร   ช่วงใดมีการเพิ่มจำนวนประชากรมากที่สุดเพราะเหตุใด           2.2 ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2533-2544 การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น           2.3 การเพิ่มจำนวนประชากรมีผลต่อการขยายตัวของชุมชนเมือง เพื่อที่อยู่อาศัย ดารเกษตร อุตสาหกรรม อย่างไร           2.4 การเพิ่มจำนวนประชากรมีผลต่อปริมาณความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร และมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใดบ้าง นักเรียนจะมีวิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร
 22.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์             ประชากรมนุษย์มีการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์   ผลิตลูกเป็นรุ่นๆ ประชากรมนุษย์ในแต่ละรุ่นก็จะเจริญเติบโตต่อไปและสืบพันธุ์ให้ลูกให้หลานรุ่นแล้วรุ่นเล่า   จากลักษณะของการเติบโตของประชากรดังกล่าว   ทำให้สามารถแบ่งอายุช่วงประชากรมนุษย์ออกเป็น 3 กลุ่มคือ วัยก่อนเจริญพันธุ์(per -reproductive) ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด- 14 ปี  วัยเจริญพันธุ์ (reproductive) ช่วงอายุตั้งแต่ 15-44 ปี และ วัยหลังเจริญพันธุ์ (post- reproductive) ช่วงอายุตั้งแต่ 45  ปีขึ้นไป  ประชากรที่มีช่วงอายุที่แตกต่างกันนี้ประกอบเป็น แผนภาพโครงสร้างอายุของประชากร (age  structure  diagram) ซึ่งแสดงในรูปพีระมิด   ถ้าหากกลุ่มประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์มีขนาดใหญ่ที่สุด   อัตราการเกิดของประชากรก็จะสูงกว่าอัตราการตาย   ดังนั้นพีระมิดโครงสร้างของประชากรก็มีฐานกว้าง ปลายยอดแหลม   ถ้าหากขนาดของกลุ่มประชากรในวัยเจริญพันธ์เท่ากับขนาดของกลุ่มประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์   พีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรก็จะเป็นรูประฆังคว่ำ   และถ้าหากว่าขนาดของประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์มีขนาดเล็กกว่าประชากรในวัยเจริญพันธุ์   พีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรก็จะเป็นรูปดอกบัวตูม   พีระมิดโครงสร้างของประชากรแบบต่างๆ แสดงดังภาพที่ 22-15          

รู้หรือเปล่า ?
   ในการเขียนกราฟพีระมิดโครงสร้างอายุของประชากร   นิยมใช้ช่วงอายุห่างกันในแต่ละช่วง 5 ปี และแยกประชากรเพศชายและเพศหญิงออกจากกัน          

ภาพที่ 22-15 พีระมิดโครงสร้างอายุประชากรมนุษย์แบบต่างๆ
            ก. พีระมิดฐานกว้างยอดแหลม 
             ข.พีระมิดทรงรูปกรวยปากแคบ
ค.พีระมิดรูประฆังคว่ำ  ง.พีระมิดรูปดอกบัวตูม
          จากพีระมิดโครงสร้างอายุประชากรทำให้สามารถคาดคะเนแนวโน้มของประชากรในประเทศนั้นๆ ได้เช่น          แบบ ก. พีระมิดฐานกว้าง ยอดแหลม แสดงถึงโครงสร้างประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว   พบโครงสร้างของประชากรแบบนี้ได้ในประเทศกัวเตมาลา ซาอุดิอาระเบีย และประเทศในแอฟริกา เช่น เคนยา และไนจีเรีย เป็นต้น           แบบ ข. พีระมิดทรงรูปกรวย ปากแคบ แสดงถึงโครงสร้างของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ พบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และไทย เป็นต้น           แบบ ค. พีระมิดรูประฆังคว่ำ แสดงถึงโครงสร้างประชากรขนาดคงที่   พบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสเปน เดนมาร์ก ออสเตรีย และอิตาลี เป็นต้น           แบบ ง. พีระมิดรูปดอกบังตูม แสดงโครงสร้างของประชาการลดลง   พบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ในประเทศเยอรมัน อังการี สวีเดน บัลกาเรีย สิงคโปร์ เป็นต้น           นอกจากนี้ลักษณะโครงสร้างอายุประชากรสามารถสะท้อนภาพของประชากรจากอดีตถึงปัจจุบันได้   และยังสามารถใช้คาดคะเนขนาดของประชากรในอนาคตได้อีกด้วย   ดังแสดงในภาพที่ 22-16
ภาพที่ 22-16 พีระมิดโครงสร้างของประชากรมนุษย์ในปี พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2568
 ก.ประเทศที่กำลังพัฒนาข.ประเทศที่พัฒนาแล้ว 
- สัดส่วนของสมาชิกในประชากรที่มีช่วงวัยต่างกันใช้คาดคะเนขนาดของประชากรอย่างไร- โครงสร้างอายุของประชากรใช้คาดคะเนขนาดของประชากรในอนาคตได้อย่างไร- จากภาพที่ 22-16 ประชากรมนุษย์ในประเทศที่พัฒนาแล้วกับในประเทศที่กำลังพัฒนาในปี พ.ศ. 2528 มีอัตราการเติบโตเป็นอย่างไร   และแนวโน้มของประชากรทั้ง 2 กลุ่ม ในปีพ.ศ. 2568 มีอัตราการเติบโตเป็นอย่างไร- การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรบ้างต่อระบบนิเวศ

           ประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เป็นองค์ประกอบทางชีวภาพที่สำคัญของระบบนิเวศ ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้สลายสารอินทรีย์ ถ้าหากกลุ่มของสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่มนี้มีขนาดสัดส่วน และการกระจายที่เหมาะสมแล้วจะทำให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุล   แต่โดยความเป็นจริงแล้วพบว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคจะมีมากที่สุด   โดยเฉพาะประชากรมนุษย์   ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศมากขึ้น   มนุษย์เป็นประชากรในระบบนิเวศที่บริโภคทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุด   ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นเสียสมดุล   ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อมตามมา
ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ : http://www.vcharkarn.com/lesson/1322

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น